ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ

NATIONAL ROOT CERTIFICATION AUTHORITY OF THAILAND



A | B | C | D | E | F | G | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |  อ  |

Published On  16.07.2012 (12 ปีที่ผ่านมา)

อายุความ

ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สิทธิร้องทุกข์ สิทธิฟ้องร้องดำเนินคดี เป็นต้น ตัวอย่างคดีแพ่ง อายุความในการฟ้องร้องดำเนินคดีในมูลละเมิดคือ ผู้เสียหายต้องฟ้องคดีแพ่งภายในกำหนดอายุความ ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ ภายในกำหนดอายุความ ๑๐ ปี นับแต่วันทำละเมิด ตัวอย่างคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายจะต้องแจ้งความร้องทุกข์ต่อตำรวจภายในกำหนดอายุความ ๓ เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด  หากผู้เสียหายไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดดังกล่าว ผู้เสียหายย่อมหมดสิทธิที่จะดำเนินการดังกล่าวและจะยกขึ้นอ้างเพื่อเรียกร้องให้ดำเนินการอีกไม่ได้ เช่นนี้เรียกว่า “ขาดอายุความ” อย่างไรก็ตาม ในคดีแพ่งแม้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความตามกฎหมายแล้ว แต่สิทธินั้นยังคงอยู่ กล่าวคือ หากลูกหนี้ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิรับชำระได้