ด้วยการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งครอบคลุมการทำธุรกรรมต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและภาคธุรกิจ รวมทั้งการทำธุรกรรมในส่วนของประชาชนหรือผู้บริโภคนั้นมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น แต่การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องมีการยื่นยันตัวตนว่าเป็นบุคคลหรือระบบสารสนเทศนั้นจริง ๆ จึงจำเป็นต้องพัฒนา
เทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ
(Public Key Infrastructure) หรือที่เรียกกันว่า “PKI”
ซึ่งมีคุณสมบัติในการเข้ารหัสลับ เพื่อรักษาความลับและใช้ในการลงลายมือชื่อดิจิทัล(Digital Signature) ลายมือชื่อดิจิทัลสามารถระบุเจ้าของลายมือชื่อดิจิทัลนั้นได้ เมื่อใช้ลายมือชื่อดิจิทัลกำกับข้อความหรือเอกสารได้แล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นกับข้อความ เอกสาร หรือลายมือชื่อดิจิทัลนั้น ก็จะสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ จึงทำให้การลงลายมือชื่อดิจิทัลดังกล่าวนอกจากจะสามารถระบุตัวบุคคลได้แล้ว ยังสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล อันทำให้เจ้าของลายมือชื่อดิจิทัลไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดในธุรกรรมที่ทำได้
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 ได้มีการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.)เพื่อให้ทำหน้าที่พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ รวมทั้งการพัฒนามาตรฐาน และมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ทำภารกิจพัฒนา National Root CA ซึ่งถือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่รองรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขอบเขตครอบคลุมที่มิใช่แต่เพียงแค่การซื้อขายสินค้า การให้บริการ การจ้างแรงงาน หรือการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ยังรวมไปถึงการให้บริการของรัฐทางอิเล็กทรอนิกส์ การให้บริการด้านระบบ National Single Window ของระบบ e-Logistics และการให้บริการด้านสาธารณสุขทางออนไลน์ในระดับชาติ (National Healthcare) ด้วย
การดำเนินงาน National Root CA
ผลที่คาดว่าจะได้รับ